ยินดีต้อนรับเข้าสู่ เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง 037-297125  
 
 
สภาพทั่วไป
ตราสัญลักษณ์
สภาพทางสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
บริการขั้นพื้นฐาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ITA
วิธีการใช้งาน E-Service
ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data)
 
อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษาฯ
ทดสอบ
 
โครงสร้างหน่วยงาน
ผู้บริหารฝ่ายข้าราชการประจำ
ผู้บริหาร
สมาชิกสภา
หัวหน้าส่วนราชการ
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม
 
  ข่าวประชาสัมพันธ์
  คู่มือประชาชน
  ศูนย์ดำรงธรรม
  กองทุนหลักประกันสุขภาพ
  เบี้ยผู้สูงอายุ
  อปพร.
  มุมอาเซียน
  จดหมายข่าว
  ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
  แบบสอบถามความพึงพอใจ
  ภาพกิจกรรม
  ผลิตภัณฑ์ตำบล
  สถานที่สำคัญ
  หนังสือราชการ สถ.
  หนังสือราชการ สถ.จ.
 งานกองคลัง
 งานพัฒนาชุมชน
 งานสาธารณสุข
 การประชุมสภาท้องถิ่น
 เผยแพร่พระราชกรณียกิจ
 งานกองการศึกษา
 ประกาศ/คำสั่ง
 
  แผนยุทธศาสตร์
  แผนพัฒนาท้องถิ่น
  แผนการขับเคลื่อนหน่วยงาน
  แผนดำเนินงานประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินงาน รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
 งานนโยบายและแผน
 
  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี
  แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ รอบ 6 เดือน
  รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
 
  แผนการจัดซื้อจัดจ้างหรือแผนการจัดหาพัสดุ
  ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
  ผลประกาศการจัดซื้อจัดจ้าง
  สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุรายเดือน
  รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้างหรือการจัดหาพัสดุประจำปี
  ราคากลางจัดซื้อจัดจ้าง
  แผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง
  ประกาศผู้เสนอราคา
 ประกาศชำระภาษี
 
  เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
  การมีส่วนร่วมของผู้บริหาร
  นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล
  การดำเนินการตามนโยบายการบริหาร ทรัพยากรบุคคล
  มาตรฐานการปฏิบัติงาน
 หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 รายงานผลการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลประจำปี
 แผนการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
 มาตรการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม
 ประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  แนวปฏิบัติการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตประจำปี
   ช่องทางแจ้งเรื่องร้องเรียนการทุจริต
  การประเมินความเสี่ยงการทุจริตประจำปี
  การดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริต
 การประเมินความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสินบน
 รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี
  แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตประจำปี
  รายงานการกำกับติดตามการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปีรอบ 6 เดือน
  รายงานผลการดำเนินการป้องกันการทุจริตประจำปี
 มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 การดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน
 การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
 นโยบายไม่รับของขวัญ (No Gift Policy)
พ.ร.บ./พ.ร.ก.
กฎกระทรวง/ระเบียบฯ
ระเบียบกฏหมายอื่นๆ
 
 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตามมาตรฐานทางจริยธรรม
 ผลการดำเนินการด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
  ข้อมูลเชิงสถิติการให้บริการ
  มาตรฐานการให้บริการ
  รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
 นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
 ศูนย์บริการร่วม
 ศูนย์บริการร่วม/ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service : OSS)
 
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
ท่านต้องการให้ อบต. พัฒนาในส่วนใดมากที่สุด
ด้านการคมนาคม
ด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูล
ด้านการส่งเสริมอาชีพในตำบล
ด้านระบบอินเตอร์เน็ตตำบล
ด้านระบบสาธารณูปโภค
 
 
 
 
 
 
เผยแพร่พระราชกรณียกิจ
_______________________________________________________________________________________________________
เผยแพร่พระราชกรณียกิจ
 

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๙๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนและประชาชนทั่วไปได้ศึกษาเรียนรู้แนวคิด ทฤษฎี แนวพระราชดำริและผลสำเร็จจากการพัฒนาโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ องค์การบริหารส่วนตำบลวังท่าช้าง ขอเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ
‘ศิลปาชีพ’ ราชินีแห่งไหมไทย ทรงเป็นต้นแบบอนุรักษ์ผ้าไทยให้โด่งดังไกล

เรื่องของ ‘ผ้าไหมไทย’ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน งานศิลป์ชิ้นเอกที่ถูกละเลยนี้ได้ถูกหยิบมาปัดฝุ่นให้ทรงคุณค่ามาแล้วกว่าครึ่งศตวรรษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เมื่อครั้งเสด็จฯ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง มีพระราชเสาวนีย์ให้ส่งเสริมการทอผ้าไหมไทยขึ้น ก่อเกิดเป็นโครงการส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ราษฎรอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ ภายใต้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังทรงเผยแพร่ความงดงามของผ้าไหมและหัตถกรรมไทยสู่สายตาชาวโลก ผืนผ้าจากภูมิปัญญาชาวบ้านกลายเป็นฉลองพระองค์อันวิจิตร โดยใน พ.ศ. 2505 ทรงได้รับเลือกให้เป็นสตรีที่แต่งพระองค์งามที่สุดในโลกผู้หนึ่ง ในจำนวนสุภาพสตรีของโลกทั้งหมด 10 คน จากบรรดาผู้เชี่ยวชาญการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีของโลก  ทรงนำความงดงามของผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักในสังคมวงกว้างและสวมใส่อย่างแพร่หลาย

เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงพลิกฟื้นผ้าไทย ทรงทุ่มเทพระวรกาย พระปรีชาญาณ และกำลังพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ทำให้ผ้าไทยกลับคืนสู่สังคมไทย เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย จึงร่วมมือกับสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ จัดทำโครงการ ‘สืบสาน อนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทย ดำรงไว้ในแผ่นดิน’ โดยในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทยอย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์

จากนโยบายดังกล่าว ได้สร้างกระแสการใส่ผ้าไทยให้คึกคักมากยิ่งขึ้น มีการประกวดผ้าทอของแต่ละจังหวัด มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้กับผู้สืบทอดภูมิปัญญาผ้าไทย รวมทั้งจัดแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าไทยที่นำมาตัดเย็บให้เข้ากับยุคสมัยให้ผ้าไทยใส่แล้วเก๋ในชีวิตประจำวัน

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ

น้ำพระทัยสมเด็จพระพันปีหลวง ชุปชีวิตยามวิกฤติสาธารณสุข

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงห่วงใยปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรอย่างใกล้ชิดเสมอมา โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขภาพอนามัยตามพื้นที่ชนบทห่างไกล ทรงตระหนักว่า การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้ พระองค์จึงได้พระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก อาทิ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดคณะแพทย์ตามเสด็จในต่างจังหวัด นำมาสู่หน่วยแพทย์พระราชทานจนทุกวันนี้

ทรงสานต่อโครงการหมอหมู่บ้านของในหลวง รัชกาลที่ 9 คัดชาวบ้านที่สมัครใจมาอบรม เพื่อนำความรู้กลับไปช่วยเหลือคนเจ็บป่วยในหมู่บ้าน โดยให้ชาวบ้านรู้จักใช้ยาและดูแลรักษาอนามัยเบื้องต้น ขณะที่คนไข้ป่วยหนักยากจนทรงไม่ทอดทิ้งรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทุกชีวิตของราษฎรมีความหมายใต้ร่มพระบารมีสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง

แม้ในสถานการณ์ปัจจุบันที่พสกนิกร 76 จังหวัด เผชิญสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่พสกนิกรต่างถวายพระราชสมัญญาว่า ‘พระแม่เจ้าของชาติ’ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และชุดอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจแบบอากาศบริสุทธิ์ PAPR เพื่อใช้ในห้องผ่าตัดของโรงพยาบาลประจำจังหวัดในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ โรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร และทุกเหล่าทัพช่วยปกป้องบุคลากรทางการแพทย์ที่เสียสละให้ปลอดภัยจากการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ

บ้านเล็กในป่าใหญ่ โครงการพระราชดำริฯ

“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า” พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่แสดงถึงพระราชปณิธานอันแรงกล้าที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ เพื่อสนับสนุนการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีน้ำเพียงพอต่อการดำรงชีพและการทำการเกษตร โครงการตามพระราชดำริอันหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความใส่พระราชหฤทัยด้านการอนุรักษ์ป่าไม้และทรงห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่เป็นอย่างมากคือ ‘โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่’ ซึ่งพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งขึ้นที่แรกที่บ้านห้วยไม้หก อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2534

พร้อมพระราชทานพระราชดำริแนวทางการอนุรักษ์ไว้ว่า ให้คงมีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ ให้รักษาป่าที่ยังคงอุดมสมบูรณ์อยู่ ไม่ให้ถูกทำลายต่อไป จัดให้มีการฟื้นฟูสภาพป่าที่ถูกทำลายไป โดยให้มีทั้งไม้ป่าธรรมชาติและไม้ใช้สอย พื้นที่ทำกินของราษฎร ให้การช่วยเหลือด้านการเกษตร สามารถทำกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องตัดไม้ทำลายป่า และจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอ

โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริ บ้านห้วยไม้หก ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คนกับป่าอยู่ด้วยกันได้โดยไม่เกิดการทำลาย ดังพระราชประสงค์หลังจากนั้นจึงมีการต่อยอด จัดตั้งโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่อีกหลายพื้นที่ เช่น โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านอุดมทรัพย์ อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริบ้านหนองห้า อ.เชียงคำ จ.พะเยา, โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ตามพระราชดำริดอยฟ้าห่มปก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ ฯลฯ

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ

‘โขน’ ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยให้คงอยู่สืบไป 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ในด้านศิลปวัฒนธรรม มีการอนุรักษ์ สืบสาน ภูมิปัญญามรดกวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ในแผ่นดินไทยให้คงอยู่โดยเฉพาะ ‘โขน’ ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยและเป็นมหรสพหลวงที่รุ่งเรืองมาช้านาน

ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ศึกษาค้นคว้าการแสดงโขนตามแบบโบราณราชประเพณี พร้อมฟื้นฟูองค์ความรู้ในการสร้างเครื่องแต่งกายโขนให้งดงามตามธรรมเนียมเดิม โปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญและศิลปินในสาขาที่เกี่ยวข้อง ศึกษาข้อมูลและหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายโขนในละครโบราณอย่างละเอียด เพื่อจัดสร้างเครื่องแต่งกายโขนละครขึ้นใหม่ ตลอดจนพัฒนาศิลปะการแสดงหน้าโขนละครให้มีความร่วมสมัย โขนพระราชทาน เรื่องรามเกียรติ์ ชุดศึกพรหมาศ เมื่อ พ.ศ. 2552 จึงเป็นปฐมบทแห่งโขนพระราชทานที่ประสบความสำเร็จ ได้รับความชื่นชมในเรื่องความงดงามของเครื่องแต่งกาย ความวิจิตรตระการตาของฉากและเทคนิคต่าง ๆ กระบวนการรังสรรค์เครื่องโขนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดและเกือบสูญสลายไปตามกาลเวลาให้กลับมาเฉิดฉายอีกครั้ง

นำไปสู่การแสดงโขนพระราชทานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 และเพื่อสานต่อพระราชปณิธานในสมเด็จพระพันปีหลวง มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ จะจัดการแสดงโขน ประจำปี 2565 เรื่องรามเกียรติ์ ตอน ‘สะกดทัพ’ ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม ถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

และด้วยพระอัจฉริยภาพ พระวิสัยทัศน์ ในการสนับสนุนส่งเสริมการแสดงโขน ทำให้โขนเป็นที่รู้จักและชื่นชมไปทั่วโลกองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโขนไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถือเป็นมรดกล้ำค่าของชาติที่ชาวไทยทุกคนควรร่วมกันอนุรักษ์ไว้ด้วยความหวงแหนยิ่งชีพ

สืบสานพระราชปณิธานธรรมราชินี 

ในด้านศาสนา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตระหนักว่า ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์มิให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นความชั่ว และเป็นแนวทางให้มนุษย์เลือกกระทำแต่ความดี จึงทรงตระหนักถึงความสำคัญในการอุปถัมภ์ศาสนา นอกจากจะทรงเป็นพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติพระราชกรณียกิจทางศาสนาโดยสม่ำเสมอแล้ว ยังทรงทะนุบำรุงศาสนาต่าง ๆ ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม พราหมณ์ฮินดู และซิกข์ เพราะทรงถือว่าทุกศาสนาต่างมีความสำคัญในฐานะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ของประชาชนเช่นเดียวกัน

ดังนั้นคราวใดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ ไปในงานพระราชพิธีหรือทรงประกอบพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับศาสนา สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงมักจะโดยเสด็จด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นพิธีของศาสนาใด บางครั้งเสด็จฯ โดยลำพังพระองค์เอง ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจด้วยความเคารพในประเพณีของศาสนานั้น ๆ อย่างดียิ่ง รวมทั้งโดยเสด็จในหลวง รัชกาลที่ 9 ไปทรงนมัสการและสนทนาธรรมกับพระเถรานุเถระอยู่เสมอ ทรงใช้หลักธรรมเป็นแนวปฏิบัติทั้งในส่วนพระองค์และในฐานะสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

นอกจากนี้ ยังทรงอุปถัมภ์บำรุงพระภิกษุสงฆ์หลายด้าน เช่น ทรงถวายปัจจัยแด่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ และพระเถระที่ทรงรู้จักเป็นประจำทุกเดือน ทรงอนุเคราะห์พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธ ทรงถวายปัจจัยเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือพระราชทานทรัพย์แก่โรงพยาบาลเป็นทุนในการบริการ และอำนวยความสะดวกแก่พระสงฆ์ที่มารับการรักษา ตลอดจนมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดภัตตาหารไปถวายพระเถระที่อาพาธเป็นพิเศษ เป็นต้น

‘สถาบันสิริรกิติ์’ สานต่องานศิลปาชีพเผยแพร่ผลงานประณีตศิลป์ 

กว่า 60 ปี ในรัชสมัยที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาพสกนิกรไทย โดยทั่วถ้วนถึงพระวิริยะอุตสาหะ และความอดทนที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการตลอดมา โดยเฉพาะงานส่งเสริมศิลปาชีพ ยังผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตราบจนปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้พัฒนาการดำเนินงานด้วยความก้าวหน้า ผลงานที่สร้างขึ้นล้วนเป็นประณีตศิลป์ชั้นสูง มีความวิจิตงดงามยิ่ง ปัจจุบันโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ยกสถานะขึ้นเป็น ‘สถาบันสิริกิติ์’ ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2553 เป็นต้นมา

จากโรงฝึกผลงานอันวิจิตรของลูกหลานชาวนาชาวไร่ ได้อวดโฉมโชว์ความงดงามให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาแล้วมากมายผ่านการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ ‘ศิลป์แผ่นดิน’ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่แบ่งการจัดแสดงเป็นสัดส่วนเริ่มที่ชั้นล่างสุด กับห้อง ‘ปีกแมลงทับ’ หรือห้องที่แสดงการตกแต่งแผ่นไม้แกะสลัก ตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยและถนิมพิมพาภรณ์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์จำลอง ฯลฯ

นอกจากนี้ยังมีงานปักเส้นไหมโบราณขนาดใหญ่ งานคร่ำ งานสานย่านลิเภา และงานเครื่องประดับนานาชนิด รวมถึงจำลอง พระที่นั่งพุดตานจำลองคร่ำทอง จำลองแบบมาจากพระที่นั่งพุดตาน จำหลักไม้ในพระบรมมหาราชวังได้อย่างเสมือนจริง ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นฝีมือชาวนาชาวไร่ ที่ผ่านการฝึกฝนจนกลายเป็นช่างฝีมือด้านศิลปะไทยอันยอดเยี่ยมที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเห็นคุณค่าในฝีมือให้ร่วมกันสืบสานงานประณีตศิลป์ให้อยู่กับแผ่นดินไทยตลอดไป

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ

‘ฟาร์มตัวอย่าง’  ตามพระราชดำริ ศูนย์เรียนรู้การเกษตรครบวงจร หล่อเลี้ยงชีวิตเกษตรกรไทย

ย้อนไปเมื่อ 20 กว่าปีก่อน กิจกรรมฟาร์มตัวอย่างตามราชดำริถือกำเนิดขึ้น ณ บ้านขุนแตะ หมู่ 5 ต.ดอยแก้ว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ จากการพระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ไม่มีงานทำหลังจากบำบัดและเลิกเสพยาเสพย์ติด โดยเริ่มแรกเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกถนน แหล่งน้ำ สนับสนุนกิจกรรมภายในโครงการฯ เช่น ปลูกพืชผัก พันธุ์ไม้ผลชนิดต่าง ๆ การเลี้ยงปศุสัตว์ เป็ด ไก่ หมู และเลี้ยงปลา เป็นต้น จนโครงการได้พัฒนาต่อเนื่องกระจายไปทั่วประเทศ

ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ในปัจจุบัน ส่งผลให้มีแรงงานตกงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมาก และต้องกลับไปอยู่ที่ภูมิลำเนาทำให้ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว ราษฎรประสบความทุกข์ยากแสนเข็ญ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระราชปณิธาน ‘สืบสาน รักษา ต่อยอด’ พระราชกรณียกิจในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้อาณาราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างมั่นคงและยั่งยืนบนผืนแผ่นดินไทย จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำที่ดินในโครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ทั้ง 30 ฟาร์มจากจำนวน 61 ฟาร์ม ใน 17 จังหวัดทั่วประเทศ มาใช้สนับสนุนการจ้างงาน ภายใต้ ‘โครงการฟาร์มตัวอย่างฯ ต้านภัยโควิด-19’ เพื่อให้ประชาชนมีรายได้มาหล่อเลี้ยงครอบครัวในช่วงที่เกิดสถานการณ์ยากลำบากในการใช้ชีวิต

สมเด็จพระพันปีหลวง พระราชกรณียกิจ

พระเมตตาด้านงานสังคมสงเคราะห์

เพราะความทุกข์ยากของเหล่าพสกนิกรเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง พระองค์ได้พระราชทานความช่วยเหลือแก่ประชาชนด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสังคมสงเคราะห์ ผ่านโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ มากมาย ด้วยทรงตระหนักว่า การมีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และสามารถทำประโยชน์ด้านอื่น ๆ ต่อไปได้

นอกจากปวงชนชาวไทยแล้ว น้ำพระราชหฤทัยในสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวงยังแผ่ไพศาลถึงผู้อพยพลี้ภัยจำนวนมากดังเหตุการณ์บ้านเขาล้าน จ.ตราด ทรงเยี่ยมผู้ลี้ภัยสงครามชาวกัมพูชา ทรงนำอาหาร ยารักษาโรค และเครื่องนุ่งห่มไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สภากาชาดไทยไปให้ความร่วมมือกับกาชาดสากลในการช่วยเหลือผู้อพยพ และพระราชทานครูเข้าไปสอนวิชาชีพให้แก่ผู้อพยพ กิจการดังกล่าวได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทรงจัดตั้ง มูลนิธิสายใจไทย ช่วยเหลือทหาร ตำรวจ และอาสารับใช้ชาติที่บาดเจ็บ พิการ พัฒนาอาชีพให้ช่วยเหลือตัวเองและมีรายได้เลี้ยงครอบครัว ผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากมูลนิธิสายใจไทยเป็นที่รู้จักและนิยมของคนไทยมาโดยตลอด

ทรงส่งเสริมเยาวชนของชาติให้ได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม

ในด้านการศึกษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมาชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานพระราชทรัพย์เป็นทุนเริ่มแรกให้แก่ โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 1 ในการสร้างโรงเรียนสำหรับชาวไทยภูเขาเผ่าเย้าที่บ้านห้วยขาน ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และทรงมอบโรงเรียนให้อยู่ในความดูแลของกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่สอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมถึงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ให้แก่ โรงเรียนเจ้าแม่หลวงอุปถัมภ์ 2 สำหรัยเด็ก ชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ต.แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

นอกจากนี้ยังทรงรับนักเรียนยากจนขาดโอกาสทางการศึกษาที่ทรงพบด้วยพระองค์เองระหว่างการเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎร ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์เกือบ 2,000 คน โดยทุนการศึกษานี้มิได้พระราชทานแก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดเท่านั้น หากแต่พระมหากรุณาธิคุณนี้ยังแผ่ไพศาลไปยังเด็กพิการให้เข้ารับราการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาพิเศษตามความสามารถ จนจบการศึกษา เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต

โครงการป่ารักษ์น้ำ ตามพระราชดำริ 

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โปรดธรรมชาติยิ่งนัก พระองค์เข้าพระทัยดีว่าป่าไม้  ต้นน้ำลำธารมีความสำคัญต่อชีวิตคนอย่างไรบ้าง จะทรงสอนข้าราชบริพารเสมอให้ช่วยรักษาป่า ระหว่างที่เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่นั้น หากทรงว่างพระราชกิจ ตกบ่ายๆ จะทรงพระราชดำเนินไปตามทางเท้าขึ้นเขาเข้าป่าไปเสมอ ถ้าทรงพบว่ามีคนทิ้งก้นบุหรี่ลงบนกองใบไม้แห้ง และไฟกำลังคุขึ้น จะทรงตำหนิและรับสั่งกับข้าราชบริพารว่าไม่ควรทิ้งเชื้อไฟลงในป่า เพราะใบไม้แห้งเป็นเชื้อไฟอย่างดี หากเกิดไฟไหม้ ไฟจะลุกลามไปอย่างรวดเร็วทำให้ดับยาก และจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้อย่างมากมาย สัตว์ป่าจะแตกตื่นและอาจจะตายในกองไฟได้

          ทุกครั้งที่ทรงพระดำเนินไปพบว่าไฟกำลังลุกอยู่ ณ จุดไหน จะทรงหยุดขบวนและมีพระราชเสาวนีย์ให้คนในขบวนไปดับไฟเสีย  หากลุกลามเกินกำลังที่จะดับกันเองได้ ก็มีพระราชเสาวนีย์ให้แจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ป่าไม้ให้มาดำเนินการ นอกจากนี้พระองค์ยังทรงมุ่งมั่นที่จะอบรมชาวบ้านให้ช่วยกันรักษาป่า เช่น สมุดภาพที่โปรดเกล้าฯ ให้ทำขึ้นพระราชทานศาลารวมใจเมื่อเกือบยี่สิบปีมาแล้ว ก็ได้ทรงสอดแทรกเรื่องรักษาป่าและต้นน้ำลำธารไว้ด้วย

          เมื่อได้ทรงพบว่าป่าไม้ถูกทำลายจนเหลือน้อยลงทุกที สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง จึงทรงริเริ่มโครงการป่ารักน้ำขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดสกลนคร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ โปรดเกล้าฯ ให้หาที่ดินที่รกร้างว่างเปล่า หรือป่าที่เสื่อมโทรมแล้วเพื่อนำต้นไม้ไปปลูก และให้ชาวบ้านช่วยกันดูแล ทรงนำความขึ้นกราบบังคมทูลปรึกษาพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในเรื่องต้นไม้ที่จะนำไปปลูก โปรดให้ปลูกต้นไม้หลายจำพวกด้วยกัน คือไม้โตเร็ว เช่น กระถินยักษ์ ยูคาลิปตัส เพื่อให้ช่วยเป็นร่มเงาแก่ไม้เศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้แดง ไม้เต็งรัง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีไม้ใช้สอย เช่น ไม้ไผ่ แคบ้าน กระถิน ไม้เหล่านี้ปลูกสับหว่างกันไป เมื่อไม้เศรษฐกิจเติบโตแข็งแรง ก็อนุญาตให้ชาวบ้านตัดไม้โตเร็วและไม้ใช้สอยออกไปใช้ได้

          สวนสัตว์ป่านั้น ทรงพระราชดำริที่จะอนุรักษ์ไว้ไม้ให้สูญพันธุ์มานานแล้ว ก่อนที่จะตื่นตัวเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเช่นปัจจุบันนี้ เวลาเสด็จฯ ไปต่างจังหวัด มักมีชาวบ้านนำสัตว์ป่ามาถวาย เช่น นกเหงือก ไก่ฟ้า กระจง เป็นต้น จะโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปเลี้ยงไว้เพื่อขยายพันธุ์ เมื่อมีจำนวนมากแล้ว ก็ให้นำไปปล่อยคืนสู่ป่า

          งานด้านอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ที่ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงริเริ่มมาเกือบ ๒๐ ปีแล้ว แต่ยังไม่ใคร่มีผู้ทราบกันนัก คือ งานอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เนื่องจากทรงเห็นว่าคนไทยนิยมรับประทานไข่เต่า หรือที่เรียกกันว่า ‘ไข่จะละเม็ด’ กันมาก ทรงเกรงว่าเต่าทะเลจะสูญพันธุ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้หาซื้อที่เพื่อเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์เต่าทะเล ซึ่งเมื่อ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ทราบถึงพระราชประสงค์ ก็ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเกาะมันใน ในเขตจังหวัดระยอง ให้เป็นที่ทรงเพาะเลี้ยงเต่าทะเลตามพระราชดำริ โปรดเกล้าฯ ให้พลเรือเอกนิรันดร์ ศิรินาวิน สมุหราชองครักษ์ในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการโครงการ และพลเรือเอกนิรันดร์ได้ขอความร่วมมือจากกรมประมง “โครงการสมเด็จฯ อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล” จึงได้กำเนิดขึ้นและอยู่ในความดูแลของกรมประมงตลอดมา สามารถเพาะพันธุ์เต่าทะเลได้เป็นจำนวนมาก เมื่อเต่าโตและแข็งแรงพอที่จะหาอาหารกินเองได้แล้ว ก็นำไปปล่อยลงในทะเล อาจจะเป็นไปได้ว่าที่เต่าทะเลในน่านน้ำไทยยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้ ก็เพราะความมีสายพระเนตรกว้างไกลของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ของเรานั้นเอง

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

สภาพของป่าเมื่อปีพุทธศักราช 2506

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

เมื่อได้ทรงพบว่า ป่าไม้ถูกทำลายลงจนเหลือน้อยลงทุกที จึงทรงริเริ่มโครงการ “ป่ารักน้ำ” ขึ้นในภาคอีสาน เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ เพื่อเป็นการชักจุงให้ราษฎรรู้จักคุณค่าของป่าไม้ และช่วยกันบำรุงรักษาต้นไม้ไว้เพื่อไม่ให้พื้นดินต้องแห้งแล้งและกลับกลายไปเป็นทะเลทรายในที่สุด

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

ในแต่ละครั้งที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมบ้านป่ารักน้ำ จะทรงวัดความสูงและวัดรอบต้นยูคา      ลิปตัสว่าโตขนาดใดแล้วด้วยพระองค์เอง เพื่อเปรียบเทียบความเจริญเติบโตในแต่ละปี

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

ทรงโปรดเกล้าให้จัดหาอาชีพเสริมแก่สมาชิกบ้านป่ารักน้ำ และเสด็จฯ ไปทรงดูแลทุกข์สุขของสมาชิกเหล่านี้จนถึงบ้าน

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๕ ทรงปลูกต้นไม้ที่บ้านทรายทอง ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน       จังหวัดสกลนคร

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

๑ กันยายน ๒๕๒๖ เสด็จฯ ไปบ้านโต๊ะโมะ ตำบลภูเขาทอง กิ่งอำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๒๖ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรต้นน้ำตกคำหอม

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

มีพระราชปฏิสันถารกับราษฎรที่ปลูกป่าถวาย

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

ทรงปลูกต้นไผ่

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

๒๑ ธันวาคม ๒๕๒๖ เสด็จฯ ไปภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง ทรงพิทักษ์รักษาสรรพสิ่ง

ทรงปล่อยเต่าทะเล

 
 
 
 
 
 
โทรศัพท์ 0-3729-7125 , โทรสาร 0-3729-7125
การแสดงผลบนหน้าเว็บไซต์จะสมบูรณ์ที่สุดในระบบ Google Chrome, Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer 8 ขึ้นไป
สงวนลิขสิทธิ์ © โดย
MediaCreativeCenter 08-7776-6615
หน้าแรก  I  สถานที่สำคัญ  I  ผลิตภัณฑ์ตำบล  I  กระดานถาม-ตอบ  I  แผนผังเว็บไซต์  I  ติดต่ออบต.